
ขอเชิญชวนน้อง ๆ ม.ปลาย สมัครเข้าร่วมการอบรมเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจวิชาวิทยาการคำนวณ โดยหลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อให้น้อง ๆ ได้พัฒนาด้านการคิดเชิงตรรกะ เรียนรู้เกี่ยวกับอัลกอริทึม สามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ รวมทั้งฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น จนสามารถเขียนโปรแกรมให้ประยุกต์ใช้ IoT ร่วมกับ Nature Game เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะทางได้ เมื่อเข้าอบรมครบทุกบทเรียนและผ่านเกณฑ์การอบรม น้อง ๆ จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก THNIC Academy
วันและเวลาอบรม
วันที่ 2 – 6 พฤษภาคม 2568 รวม 5 วัน
อบรมเวลา 09.00 – 16.00 น. ของทุกวัน
อบรมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น มีอาหารกลางวันและขนม เครื่องดื่มช่วงพักเบรคฟรี
ผู้เข้าร่วมอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบการเดินทางเอง
คุณสมบัติผู้สมัคร
- กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- มีความสนใจและตั้งใจจริง
- ไม่จำเป็นต้องเคยเขียนโปรแกรมมาก่อน
- สามารถเดินทางมาเข้าร่วมอบรมได้ตลอดหลักสูตร
สถานที่อบรม
มูลนิธิพัฒนาอีสานและศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เด็กรักป่า อ.เมือง จ.สุรินทร์
จัดโดย
ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy)
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 25 เมษายน 2568 รีบสมัครด่วน รับจำนวนจำกัดเพียง 30 คน
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางเว็บไซต์ https://academy.thnic.or.th ในวันที่ 28 เมษายน 2568
หมายเหตุ คณะผู้จัดอบรมขอสงวนสิทธิ์ปิดรับสมัครทันทีหากมีผู้สมัครครบตามจำนวนแล้ว และผู้สมัครก่อนมีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมก่อน
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม
ที่ | ชื่อ – นามสกุล | ชื่อเล่น | ระดับชั้น | ชื่อสถานศึกษา |
1 | นายภาคิน ประสิทธิสุวรรณ์ | ภาคิน | ม.6 | โรงเรียนจารย์วิทยาคาร |
2 | นางสาวปริสยา ดุจจานุทัศน์ | กิ้บ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
3 | นางสาวพิมลพรรณ หนึ่งใจ | ดีม | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
4 | นางสาวฐิตินันท์ ดวงสวัสดิ์ | แอน | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
5 | นางสาวนริศรา ฝ่ายจันทร์ | แบม | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
6 | นางสาวณปภา ขวัญยืน | ข้าวโพด | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
7 | นางสาวครองขวัญ คำใบ | ขวัญ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
8 | นางสาวขวัญข้าว อินทยุง | ขวัญ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
9 | นางสาวณภัทร สุบินนาม | ใหม่ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
10 | นางสาวอภิสรา จิตกระโทก | เอฟ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
11 | นางสาวพนามาศ เหลือถนอม | บิว | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
12 | นายทนงศักดิ์ เกือกรัมย์ | พีค | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
13 | นางสาวณัชชา เสี่ยงตรง | น้ำผึ้ง | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
14 | นางสาวเหนือฝัน เสือเขียว | องุ่น | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
15 | นายพีรพัฒน์ เสมอภาค | พี | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
16 | นางสาวณัฐณิชา สนสี | จ๋อมแจ๋ม | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
17 | นางสาวทักษอร เสมารัมย์ | เดีย | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
18 | นางสาวปิณฑิรา ดอนไชย | ปิ่น | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
19 | นางสาวพรนภัส ทวีคง | ปาล์ม | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
20 | นางสาวกมลชนก เนตรแก้ว | วุ้นเส้น | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
21 | นายดำรงค์ แสนสำราญ | แจ้ | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
22 | นายนนทพัทธ์ เรื่องยิ่ง | แน็ค | ม.5 | โรงเรียนสวายวิทยาคาร |
23 | นายอานนท์ ชื่นบุญญา | นนท์ | ม.6 | โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม |
24 | นายศิวกร แสนศิริ | หอม | ม.6 | โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม |
25 | นายสหราช ขาวงาม | เมธ | ม.4 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
26 | นายมารวย เพิ่มทอง | เสือ | ม.5 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
27 | นางสาวนันท์นภัส จันภิรมย์ | ผักหวาน | ม.5 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
28 | นายสิรภพ ไทยขำ | ฟิกซ์ | ม.4 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
29 | นางสาวสิริวรรณ โมราษฎร์ | โอปอล์ | ม.4 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
30 | นางสาวญาตาวีมินทร์ ภักดีอิริยสกุล | เนย | ม.4 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
31 | นางสาวภิญญาพัชญ์ แซ่ตั้ง | บัว | ม.5 | โรงเรียนสุรวิทยาคาร |
32 | สามเณร นิปปก ถมปัทม์ | นิป | การศึกษาทางไกล | สถาบันการศึกษาทางไกล |
Sponsor

วันที่ 2 – 6 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy) ได้จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร “Enhancing Computational Thinking (CT) Skills with IoT and Nature Game” แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีเยาวชนเข้าร่วม 33 คน


กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดย นายภาคภูมิ ไตรพัฒน์ ผู้อำนวยการ THNIC Academy ซึ่งได้แนะนำบทบาทของมูลนิธิฯ รวมถึงวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ที่มุ่งพัฒนา “ทักษะการคิดเชิงคำนวณ” (Computational Thinking) ให้แก่เยาวชน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการเขียนโปรแกรมและประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things)



















ในช่วงแรกของการอบรม ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ IoT จากทีมวิทยากรนำโดย ผศ.ดร.ธงชัย เจือจันทร์ และคณะจากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ IoT ให้ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดได้อย่างน่าประทับใจ



































ช่วงที่สองผู้เข้าอบรมได้สัมผัสกับ “เกมธรรมชาติ” ที่ออกแบบโดย ครูจืด เข็มทอง โมราษฎร์ วิทยากรจาก “เด็กรักป่า สตูดิโอ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการตั้งคำถาม การสังเกต การเข้าใจตนเองและบริบทของโลกธรรมชาติ และเรียนรู้ในพื้นที่จริงผ่านเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ปรีย์ทม” ป่าชุมชนบ้านแสลงพันธ์ ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกับทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการออกแบบแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างรอบด้าน
ในช่วงท้าย ผู้เข้าอบรมได้ร่วมระดมความคิดและนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การแจ้งเตือนจุดเกิดไฟป่า การตรวจวัดคุณภาพอากาศ ระบบแจ้งเตือนการดูแลผู้สูงอายุ ระบบติดตามสัตว์เลี้ยง การแจ้งเตือนการแอบปล่อยน้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการผสานทักษะดิจิทัลเข้ากับความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างสร้างสรรค์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นายธรากร จันลาภา (พี่ชัย)
โทร. 084-1562991
Email: tharakorn@thnic.or.th หรือ ชัยธรากร@คน.ไทย