ค่ายแบ่งปั๋นเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องทุกปี ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ของจังหวัดหรือชุมชนที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และประชากรมีการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่เหล่านี้มีศักยภาพในการให้บริการพัฒนาเว็บไซต์ หรือให้บริการด้านไอทีอื่น ๆ รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นอาชีพที่เลี้ยงตนเองได้ในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโต พร้อมทั้งก่อเกิดเป็นเครือข่ายผู้ให้บริการด้านไอทีในพื้นที่ที่สามารถร่วมกันรับงานจากพื้นที่อื่นได้

ปี 2567 ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy) จัดค่ายแบ่งปั๋น ครั้งที่ 5 ณ THNIC Academy จ.ตาก ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม  และ 1 – 5 เมษายน 2567  โดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ในแต่ละหัวข้อเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ค่ายแบ่งปั๋นในปีนี้มีกำหนดจัดกิจกรรมรวม 6 วัน โดยแบ่งเป็นการอบรมให้ความรู้ 4 วัน และกิจกรรม Hackathon 2 วัน เนื้อหาการอบรมแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

เนื้อหาการอบรม

Web Programming

Web Design

Web Marketing

Web Content

ขอเชิญชวนน้อง ๆ ที่กำลังศึกษาระดับชั้น ม.ปลาย หรือ ปวช. รวมทีมกันมา 3 – 5 คน สมัครเข้าร่วมกิจกรรมค่ายแบ่งปั๋น ครั้งที่ 5 เพื่อมาเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการพัฒนาเว็บไซต์ และการให้บริการทางด้านไอที เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต 

นอกจากจะสนุกกับการเรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพแบบตัวต่อตัวแล้ว น้อง ๆ ยังได้ลงมือพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเอง และช่วงท้ายของค่ายมีกิจกรรม Hackathon พัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริง ชิงทุนการศึกษาและเกียรติบัตรจาก THNIC Academy

คุณสมบัติผู้สมัคร

กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.ปลาย และ ปวช. มีความสนใจและตั้งใจจริงในการเรียนรู้ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมค่ายได้ทุกวัน

รางวัลกิจกรรม HACKATHON

รางวัลที่ 1

-  ทุนการศึกษา 5,000 บาท

รางวัลที่ 2

-  ทุนการศึกษา 3,000 บาท

รางวัลที่ 3

-  ทุนการศึกษา 2,000 บาท

รางวัลพิเศษ

-  ทุนการศึกษา 3,000 บาท สำหรับทีมที่ทำเว็บไซต์รองรับอีเมลภาษาไทยได้

รางวัลพิเศษ                                                                      

-  ทุนการศึกษา 3,000 บาท สำหรับทีมที่ทำเว็บไซต์ได้ตามข้อกำหนดหลังจบค่าย 

สำหรับปีนี้ค่ายแบ่งปั๋นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากโดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับ ปวช. จากสถานศึกษาในจังหวัดตากสมัครเข้าร่วมจำนวน 12 ทีม 42 คน โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกและอบรมครบหลักสูตรจำนวน 11 ทีม รวม 38 คน ดังนี้

  1. โรงเรียนบ้านตากประชาวิทยาคาร  จำนวน 2 ทีม รวม 8  คน
  2. โรงเรียนพบพระวิทยาคม  จำนวน 1 ทีม รวม 3  คน
  3. โรงเรียนตากวิทยาคม  จำนวน 3 ทีม รวม 8  คน
  4. โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร จำนวน 1 ทีม รวม 5 คน
  5. โรงเรียนผดุงปัญญา  จำนวน 2 ทีม รวม 6  คน
  6. วิทยาลัยเทคนิคตาก จำนวน 2 ทีม รวม 8 คน

เปิดค่ายแบ่งปั๋น ครั้งที่ 5 แบบออนไลน์ เริ่มต้นด้วยแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมค่ายจากคุณภาคภูมิ ไตรพัฒน์ ผู้อำนวยการ THNIC Academy จากนั้นเป็นบรรยายหัวข้อ “การเตรียมและการผลิตเนื้อหาบนเว็บไซต์”​ โดย อาจารย์สุดถนอม รอดสว่าง หัวหน้าหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

ต่อด้วยบรรยายหัวข้อ “จริยธรรมการทำเว็บไซต์” โดย คุณศิริพัฒน์ กล่ำกลิ่น กรรทการสมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ไทย เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นก่อนเข้าค่ายจริงในสัปดาห์ต่อไป

วันที่ 1 เมษายน 2567 

คุณภาคภูมิ ไตรพัฒน์ ผู้อำนวยการ THNIC Academy ได้กล่าวต้อนรับน้อง ๆ อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งอธิบายกิจกรรมค่ายทั้งการอบรมอย่างเข้มข้นตลอดทั้ง 3 วัน และกิจกรรม Hackthon แข่งขันทำเว็บไซต์ 

จากนั้นน้อง ๆ ได้เรียนเรื่อง “การผลิตมีเดีย (Media Production)” สอนโดย คุณสิทธิพล ปราจันทร์, มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทยและ “การเตรียมโดเมนเนมและโฮสต์ (Domain & Hosting)” โดยคุณจิรศักดิ์ จุลวัจน์, บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เป็นวิทยากรผู้สอน

วันที่ 2 เมษายน 2567 

เวิร์กชอปหัวข้อ “การออกแบบเว็บไซต์ (web design)” สอนโดยคุณธนิยะ วงษ์เสือนุ่ม, บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด 

และเวิร์กชอปหัวข้อ “การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress” โดยอาจารย์พลากร ประสูตร์แสงจันทร์, วิทยากรรับเชิญจาก palamike.com 

วันที่ 3 เมษายน 2567 

เวิร์กชอปหัวข้อ “การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress” ต่อเนื่อง และ “การทำเว็บไซต์ให้เป็น Universal Acceptance”  โดยอาจารย์พลากร ประสูตร์แสงจันทร์

วันที่ 4 เมษายน 2567 

เริ่มกิจกรรม “Hackathon แข่งขันทำเว็บไซต์” สำหรับโจทย์ปีนี้ คือ สร้างเว็บไซต์ Web Portal ที่รวบรวม Portfolio ของน้อง ๆ ทุกคนที่อยู่ในค่ายปีนี้ 

โดยแต่ละคนจะต้องสร้างเว็บไซต์สำหรับแสดง “Portfolio” (เว็บไซต์แสดงผลงานและนำเสนอตัวเอง) เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมผลงานสำหรับใช้ยื่นสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยหรือสำหรับสมัครงานในอนาคต 

วันที่ 5 เมษายน 2567 

ช่วงเช้าทำกิจกรรม Hackathon ต่อเนื่อง และช่วงบ่ายนำเสนอผลงานเว็บไซต์ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตัดสินผลงาน

รางวัลชนะเลิศ
ทุนการศึกษา 5,000 บาท

ทีม UPM 
ร.ร. ตากพิทยาคม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ทุนการศึกษา 3,000 บาท

ทีม Lazy cat
ร.ร. ตากพิทยาคม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ทุนการศึกษา 2,000 บาท

ทีม จารย์โอ๋สั่งลุยนะจ๊ะ
วิทยาลัยเทคนิคตาก

รางวัลพิเศษ สำหรับการทำเว็บไซต์รองรับอีเมลภาษาไทย ทุนการศึกษา 3,000 บาท ได้แก่

ชื่อกลุ่ม โรงเรียน เว็บไซต์

PP01

โรงเรียนผดุงปัญญา

Circle

โรงเรียนบ้านตาก"ประชาวิทยาคาร"

เฟรนด์คลับ.ไทย

Mytime

โรงเรียนบ้านตาก"ประชาวิทยาคาร"

Evolution

โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร

PP02

โรงเรียนผดุงปัญญา

อีกละก๋า

โรงเรียนพบพระวิทยาคม

Lazy cat

โรงเรียนตากพิทยาคม

จารณ์โอ๋สั่งลุยนะจ้ะ

วิทยาลัยเทคนิคตาก

UPM

โรงเรียนตากพิทยาคม

ช่วงท้ายของกิจกรรม ดร.เพ็ญศรี อรุณวัฒนามงคล ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย มอบเกียรติบัตรและทุนการศึกษาแก่ผู้เข้าร่วมค่าย พร้อมทั้งกล่าวแสดงความยินดีและให้โอวาทเพื่อปิดค่ายแบ่งปั๋น ครั้งที่ 5 ประจำปี 2567 ด้วย

THNIC Academy ขอขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดค่ายแบ่งปั๋น ครั้งที่ 5 ได้แก่ บริษัท ที.เอช.นิค. จำกัด, บริษัท ดอท อะไร จำกัด, UASG, บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, บริษัท โปรวิชั่น จำกัด และ บริษัท แลคตาซอย จำกัด

สถานที่อบรม

ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy)
ที่ตั้ง: 56/1 ถนนมหาดไทยบำรุง, ตำบลระแหง, อำเภอเมืองตาก, จังหวัดตาก

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายธรากร จันลาภา (พี่ชัย)
โทร. 084-1562991
Email: tharakorn@thnic.or.th หรือ ชัยธรากร@คน.ไทย